การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางชั้นสูง Grandes Ecoles
Grandes Ecoles มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ สถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงกว่าปริญญาตรี ที่สอนเฉพาะด้าน โดยแรกเริ่มได้แก่ สถาบันที่ผลิตบัณฑิตออกมาเป็นผู้นำในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ Ecole Centrale, Ecole Nationale d’Administration, Ecole des Hautes Etudes Commerciales, Ecole Normale Supérieure, Ecole Polytechnique
มหาวิทยาลัย (Université) มีเปิดสอนหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับสาขาที่สอนใน Grandes Ecoles แต่บางสาขาวิชาก็ไม่มีสอนใน Grandes Ecoles เช่น สาขาวิชากฎหมาย เป็นต้น สถาบัน Grandes Ecoles (ยกเว้น Ecoles Normales Supérieures) สอนวิชาเฉพาะด้าน เช่น สาขาวิชา สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ในปัจจุบัน คำว่า Grandes Ecoles ได้ขยายวงกว้าง ครอบคลุมสถาบันศึกษาต่างๆ มากขึ้น โดยจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- Les Ecoles Normales Supérieures
- Les Ecoles d’Ingénieurs สถาบันวิศวกรรม
- Les Ecoles de Commerce et de Gestion สถาบันบริหารธุรกิจ
- ประเภทอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัย (Université) และ Grande Ecole | ||
มหาวิทยาลัย | Grande Ecole | |
วุฒิผู้เข้าศึกษา | Baccalauréat (Bac)
หรือม. 6 |
Bac ( ม.6) แล้วศึกษาอีก 5 ปี
Bac ( ม.6) +1 แล้วศึกษาอีก 4 ปี ซึ่งมีน้อยมาก Bac ( ม.6) +2 แล้วศึกษาอีก 3 ปี ได้แก่โรงเรียนส่วนใหญ่ 2 ปีหลัง Bac ( ม.6) คือ 2 ปีที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษา หลักสูตร ต่อไปนี้ – ป.ตรี ปีที่ 1 และ 2 – DUT – BTS – Classe Prépa – CPGE เตรียมอุดมศึกษาเฉพาะทางสำหรับสถาบันชั้นสูง |
วุฒิเมื่อสำเร็จการศึกษา | Baccalauréat / ม. 6
+ 3 ปี ได้รับ ป. ตรี + 5 ปี ได้รับ ป.โท |
ไม่มี ป.ตรี ต้องศึกษาจนจบหลักสูตรจะได้รับ ป. โท ใช้เวลาเท่ากับการศึกษาในมหาวิทยาลัย ป. ตรี + โท คือ เท่ากับ Bac ( ม.6) + 5 ปี
————————————————————————- *สายบริหารธุรกิจ มี ป. ตรี* |
การสมัครเข้า | ไม่มีการสอบคัดเลือก บางคณะ คัดเลือกจากใบสมัครและจดหมายแนะนำตัว (Motivation Letter) | สอบคัดเลือก หรือ คัดเลือกจากใบสมัครและจดหมายแนะนำตัว (Motivation Letter) แบ่งตาม คุณสมบัติของผู้สมัคร
– ผู้สมัครที่มีวุฒิ DUT /BTS /ป.ตรีปีที่ 2 คัดเลือกจากใบสมัคร หรือ สอบคัดเลือก – ผู้สมัครที่เรียน Class prépa ต้องสอบคัดเลือก ในสถาบันวิศวกรรมประมาณ 70% ของนักศึกษามาจาก Class prépa ที่ผ่านการสอบเข้า 30 % มาจากนักศึกษา IUT BTS และ มหาวิทยาลัย เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย |
สังกัด | กระทรวงศึกษาธิการ และอุดมศึกษา | กระทรวงต่างๆ สภาหอการค้า หรือ สังกัดกับมหาวิทยาลัย และ องค์กรเอกชน |
ค่าเล่าเรียน | 400 ยูโร/ปี | ระหว่าง 500–600 ในสถาบันของรัฐ และ ถึง 10 000 ยูโร
ในสถาบันสังกัดสภาหอการค้า หรือ สถาบันเอกชน
|
ในปัจจุบัน คำว่า Grandes Ecoles ได้ขยายวงกว้าง ครอบคลุมสถาบันศึกษาต่างๆ มากขึ้น โดยจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- Les Ecoles Normales Supérieures
- Les Ecoles d’Ingénieurs สถาบันวิศวกรรม
- Les Ecoles de Commerce et de Gestion สถาบันบริหารธุรกิจ
- ประเภทอื่นๆ
1 . Ecoles Normales Supérieures – ENS เป็นสถาบันของรัฐ มี 3 แห่งคือ ที่ Paris Lyon และ Cachan (ชานกรุงปารีส) เปิดสอนในสาขา สังคมศาสตร์ อักษรศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยแต่ละสถาบันเปิดรับนักศึกษาจำนวน 200-350 คน/ ปี ซึ่งหมายความว่า แต่ละสาขาวิชาในสถาบันนั้น เปิดรับนักศึกษา 20-40 คน ผู้ที่เข้าศึกษาต้องผ่านการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเฉพาะทางชั้นสูง (Classe préparatoire) มาแล้ว หลักสูตรที่ศึกษาใช้เวลา 4 ปี โดยศึกษาวิชาเฉพาะ สัมมนา ประชุมวิชาการ ฝึกงานต่างประเทศ ฝึกงานในองค์กร หรือห้องทดลอง
การศึกษาใน Ecoles Normales Supérieures เป็นการศึกษาที่เข้มข้นเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เนื่องจากต้องผ่านการคัดเลือก 2 ชั้น ในชั้นแรกคือ การเข้าศึกษาในระดับเตรียมฯ (Classe préparatoire) และชั้นที่สอง คือ การสอบเข้าสถาบัน ENS นักคิด นักวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลโนเบล และ นักคณิตศาสตร์ เหรียญFields ของฝรั่งเศสหลายคนสำเร็จการศึกษาจาก ENS นักศึกษาที่มีสัญชาติฝรั่งเศสหรือสัญชาติอื่นในสหภาพยุโรป ได้รับเงินทุนกว่า 1000 ยูโร/เดือน ในระหว่างที่ศึกษาและมีข้อผูกพันรับราชการเป็นเวลา 10 ปี
2. Ecoles d’Ingénieurs คำถามที่มักพบบ่อยคือ วิชาวิศวกรรมศาสตร์เปิดสอนในมหาวิทยาลัยหรือไม่ หรือมีสอนใน Ecoles d’Ingénieurs เท่านั้น
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์นั้น เดิมสอนใน Ecoles d’Ingénieurs ก่อน ซึ่งสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดก่อตั้ง ในปี ค.ศ. 1747 คือ Ecole Nationale des Ponts et Chaussées ในปี ค.ศ. 2014 จำนวน Ecoles d’Ingénieurs
ในฝรั่งเศสมีจำนวนกว่า 250 โรงเรียน โดยกว่าร้อยละ 90 เป็นโรงเรียนสังกัดสถาบันหรือกำกับโดยองค์กรของรัฐ และร้อยละ 8-10 เป็นสถาบันเอกชน ในปัจจุบันการสอนวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี – ปริญญาโทในมหาวิทยาลัย เริ่มแพร่หลายขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ชื่อว่า Sciences pour l’ingénieur หรือ Ingénierie
ความแตกต่างของการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และ ใน Ecoles d’Ingénieurs คือ ผู้ที่สำเร็จหลักสูตร Ecoles d’Ingénieurs ( bac +5) ได้รับวุฒิบัตร Diplôme d’Ingénieur เทียบเท่า Master 2 แต่ผู้ที่สำเร็จมหาวิทยาลัยที่ศึกษา ปริญญาตรี และ ปริญญาโท สาขานี้ โดยใช้เวลาศึกษา 5 ปีเท่ากัน ได้รับวุฒิบัตร Master 2
**ในฝรั่งเศส อาชีพวิศวกรไม่ใช่อาชีพที่มีการควบคุม อย่างเช่น อาชีพ ทนายความ สถาปนิก ผู้ที่ไม่มี Diplôme d’Ingénieur ก็สามารถประกอบอาชีพวิศวกรได้**
การสอนวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยจัดเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2555 โดยการจัดตั้ง RESEAU FIGURE เพื่อส่งเสริมการสอนวิศวกรรมศาตร์ในมหาวิทยาลัย ถือเป็นทางเลือกใหม่ในการเรียนเพื่อเป็นวิศวกร แต่ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการรับนักศึกษาสาขานี้ ยังต่ำกว่าใน Ecoles d’Ingénieurs มาก ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยที่อยู่ในโครงการดังกล่าวรวมกัน รับนักศึกษาปริญญาโทได้ประมาณ 500 คน ต่อปี ด้วยชื่อเสียงที่มีมานาน การคัดเลือกนักศึกษา และ สาขาวิชาย่อยที่หลากหลาย ทำให้ Ecoles Ingénieurs ยังคงเป็นที่นิยมของผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพวิศวกร
การสมัครเข้าศึกษา สามารถทำได้ตามระดับการศึกษาดังนี้
- เข้าศึกษาด้วยวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย (Bac) และศึกษา 5 ปี อาทิเช่น สถาบัน INSA EN ที่สถาบัน INSA – Lyon เปิดหลักสูตรพิเศษ ASINSA สำหรับการประกอบอาชีพวิศวกรในระดับสากล (international) เปิดรับนักศึกษาฝรั่งเศส และ นักศึกษาเอเชีย โดยสอนเป็นภาษาฝรั่งเศส
- เข้าศึกษาด้วยวุฒิ Bac+1 และศึกษาอีก 4 ปี
- เข้าศึกษาด้วยวุฒิ Bac+2 และศึกษาอีก 3 ปี ซึ่ง 2 ปีหลังจาก Bac นั้น อาจเป็นการศึกษาในเตรียมอุดมศึกษาเฉพาะทางชั้นสูง หรือ ใน IUT หรือ BTS หรือ Licence ก็ได้ จำนวนโรงเรียนที่เปิดรับในระดับนี้มีมากที่สุด
ในกรณีผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีสาขานี้มาแล้วจากประเทศไทย เทียบได้กับ Bac +4 สามารถสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรพิเศษ ใช้เวลาศึกษา 2 ปี ซึ่งเมื่อสำเร็จจะได้รับ Diplôme d’Ingénieur de spécialisation หลักสูตรดังกล่าวมีสอนใน Ecoles d’Ingénieurs จำนวนกว่า 70 แห่ง ในหลักสูตร “n+i” สามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nplusi.com
ค่าเล่าเรียนในสถาบันของรัฐอยู่ที่ประมาณปีละ 600 ยูโร และในสถาบันเอกชน ปีละ 6 000–7 000 ยูโร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.fesic.org เครือข่ายโรงเรียนวิศวกรรมเอกชน
3. Ecoles de Commerce et de Gestion แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- สถาบันที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของสภาหอการค้า ( Chambre de Commerce)
- สถาบันเอกชน
สถาบันที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของสภาหอการค้า เปิดสอนหลักสูตร Grande Ecole คือ หลักสูตรที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี หลังมัธยมศึกษาตอนปลาย (Bac+5) ผู้สมัครสามารถเข้าศึกษาได้ทันทีเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ หลังจากนั้น คือ Bac + 2 แล้วแต่สถาบัน สถาบันเหล่านี้ ได้รับมอบอำนาจโดยกฎหมายให้ประศาสน์ปริญญาบัตรที่ได้รับการรับรองเหมือนมหาวิทยาลัยของรัฐ เทียบเท่าปริญญาโท
สำหรับสถาบันเอกชนซึ่งมีอยู่กว่า 150 สถาบัน นั้น ประมาณครึ่งหนึ่งมีหลักสูตร Bac +3 ปี และอีกครึ่งเปิดสอนหลักสูตร Bac+4/5 ปี เฉพาะหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการประเมินหลักสูตรและวุฒิบัตรด้านบริหารธุรกิจ (Commission d’Evaluation des Formations et des Diplômes de Gestions ชื่อย่อ CEFDG)
ในกำกับดูแลของกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัยฝรั่งเศส เท่านั้นที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับปริญญาโท (Master 2)
สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักคือ การรับรองสถานศึกษาโดยหน่วยงานของรัฐ หรือ หน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจโดยกฎหมาย แตกต่างจากการรับรองหลักสูตร การที่สถาบันได้รับการรับรองจากรัฐมิได้หมายความว่าหลักสูตรทุกหลักสูตรที่เปิดสอนจะได้รับการรับรองเสมอไป
สามารถตรวจดูรายชื่อหลักสูตรการบริหารธุรกิจที่ได้รับการรับรองซึ่งปรับเป็นปัจจุบัน ณ วันที่ 1 กันยายน ของทุกปีได้ที่
https://www.cefdg.fr/ecoles-et-formations-visees
4. Grandes Ecoles ประเภทอื่นๆ ได้แก่ สถาบันวิชาเฉพาะชั้นสูงในสาขาต่างๆ อาทิเช่น
- บริหารราชการ Ecole Nationale d’Administration
- สัตวแพทย์ Ecole Nationale Vétérinaire
- สาธารณสุข Ecole des Hautes Etudes en Santé Publique
- สถาปัตยกรรม Ecole d’Architecture
- ศิลปะ ออกแบบ ตบแต่ง Ecole Nationale Supérieure des Beaux – Arts, Ecole Nationale Supérieure des Arts Décoratifs
- แฟชั่น Institut Français de la Mode
- หนังสือพิมพ์ Centre de Formation des Journalistes
- โฆษณา Ecole des Hautes Etudes en Sciences de l’Information
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cge.asso.fr